รู้จักสีน้ำ

สีน้ำเป็นผลผลิตใหม่สำหรับสังคมที่ส่งเสริมให้การพิมพ์และวาดเขียนมีคุณค่าสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสมบูรณ์ทางด้านบรรยากาศและบริเวณว่าง ลักษณะเฉพาะที่เด่นของสีน้ำก็คือ ความโปร่งใส ( Transparent ) เวลาระบายใช้พู่กันแตะสีละลายกับน้ำ ระบายบนกระดาษขาว พยายามระบายไปครั้งเดียว ไม่ควรระบายสีต่างๆ ซ้ำหรือทับกันหลายหน เพราะจะทำให้สีหม่นขาดคุณสมบัติโปร่งใส และควรรักษาให้พู่กันสะอาดอยู่เสมอเมื่อต้องการเปลี่ยนสีใหม่ สีน้ำมีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ เนื้อที่บดแล้วอย่างละเอียด ( Pigment ) ผสมกับกาวอารบิค ซึ่งสกัดมาจากต้นอะคาเซีย ( Acacia tree ) กาวชนิดนี้มีคุณสมบัติพิเศษ คือ ละลายน้ำง่ายและเกาะติดกระดาษแน่น ทั้งยังมีลักษณะโปร่งใสอีกด้วย

 

คุณสมบัติของสีน้ำทั่วไป

1.ลักษณะโปร่งใส( Transparent Quality )
เนื่องจากสีน้ำมีส่วนผสมของกาว และสีที่บดอย่างละเอียด ดังนั้น เมื่อระบายน้ำบนกระดาษสีขาวจึงมีเนื้อที่ไม่หนาทึบจนเกิดไป ทำให้เกิดลักษณะโปร่งใส และการระบายสีน้ำจะต้องระบายไปทีเดียว ไม่ระบายซ้ำกัน เพราะจะทำให้สีช้ำหรอหม่นได้ และควรระบายจากสีอ่อนไปหาสีแก่ ในบางกรณ๊อาจจะระบายจากสีแก่ไปหาอ่อนก็ได้ ทั้งนี้ต้องคอยระวังอย่าให้น้ำที่ใช้ผสมสีขุ่นหรือคล้ำ เพราะจำทำให้สีหม่นหรือทึบได้

2. ลักษะเปียกชุ่ม( Soft Quality )
เนื่องจากในการระบายสี จะต้องผสมผสานกับน้ำและระบายให้ซึมเข้าหากันเมื่อต้องการให้กลมกลืนกัน ดังนั้น เมื่อระบายไปแล้วลักษณะของสีที่แห้งบนกระดาษ จะคงความเปียกชุ่มของสี ปรากฏให้เห็นอยู่เสมอ และในบางกรณีที่ใช้สีน้ำระบายมากเกินไป แล้วปล่อยให้สีแห้งไปเอง ก็จะเกิดคราบของสี (Sfumato ) ปรากฏให้เห็น ซึ่งถือเป็นลักษณะพิเศษที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ยิ่งศิลปินสีน้ำท่านใดสามารถสร้างสรรค์ให้คราบนั้นน่าดูและมีความหมายขึ้น ถือว่าเป็นลักษณะพิเศษของสีน้ำที่มีค่าควรชื่นชมเป็นอย่างยิ่ง

3.สีน้ำมีคุณสมบัติที่แห้งเร็ว
เมื่อเทียบกับสีน้ำมัน ดังนั้นจึงทำให้เกิดความเชื่อต่อผู้สนใจทั้งหลายว่า เป็นสื่อที่ระบายยาก และเหมาะสำหรับผู้ที่สามารถตัดสินใจรวดเร็วในการถ่ายทอดเท่านั้น อย่างไรก็ดีความเชื่อดังกล่าวอาจแก้ไขได้ ด้วยการลงมือทำจริง เพราะเหตุว่า การระบายสีน้ำมีวิธีระบายหลายวิธี และเราสามารถควบคุมคุณสมบัติแห้งเร็วนี้ได้ ด้วยการผสมกลีเซอรีนลงในน้ำผสมสีก็จะช่วยให้แห้งช้าได้

4.สีน้ำมีคุณสมบัติรุกรามและยอมรับ( Advance, Receda )
ทั้งนี้เกี่ยวข้องกับเนื้อสีและสารเคมีที่ผสม ซึ่งผู้สนใจจะต้องสอบทานด้วยตนเองว่าสีใดที่มีคุณสมบัติรุกรานสีอื่น หรือสีใดยอมให้สีอื่นรุกราน และสีใดที่ติดกระดาษแน่นล้างน้ำไม่ออก ( Stained Color )

 

เทคนิคสีน้ำพื้นฐาน
1.การระบายแบบเปียกบนเปียก (Wet ON Wet)
คือสีเปียก (สีผสมน้ำแล้ว) ระบายบนกระดาษเปียก (กระดาษที่ระบายน้ำหรือน้ำสีไว้แล้ว) วิธีการคือ ใช้พู่กันจุ่มสี (ค่อนข้างข้น) แตะแต้มบนกระดาษที่เปียกอยู่แล้วตามด้วยสีอื่น สีจะไหลซึม รุกรานเข้าหากันอย่างกลมกลืนและมีส่วนที่เกิดเป็นสีใหม่เพิ่มขึ้นมา
-ถ้าทำบนกระดาษเปียกชุ่ม สีจะรุกรานกันรวดเร็วและนุ่มนวล เทคนิคนี้นำไปใช้ระบายท้องฟ้า หรือน้ำทะเล ได้
-ถ้าทำบนกระดาษเปียก สีจะรุกรานไม่มากแต่ยังคงผสมผสานกลมกลืนกันดี เทคนิคนี้นำไปใช้ระบายเป็นพวกวัตถุรูปทรงทั่วไปได้
-ถ้าทำบนกระดาษหมาด สีจะผสมผสานกลมกลืนกันน้อย เห็นการแยกสัดส่วนชัดเจนกว่า เทคนิคนี้นำไปใช้ สร้างพื้นผิวแสดงความแตกต่าง ไม่เรียบ

2.การระบายแบบเปียกบนแห้ง (Wet ON Dry)
เป็นลักษณะการระบายเรียบโดยใช้สี (ผสมน้ำแล้ว) ระบายบนกระดาษแห้งมี 3 รูปแบบดังนี้ ระบายเรียบสีเดียว (Flat wash) โดยใช้พู่กันจุ่มสีระบายไปตามแนวนอนบนกระดาษที่เอียงเล็กน้อยให้น้ำสีไหลลง ไปกองข้างล่างแล้วระบายต่อเนื่องกันลงไปจนจบ การระบายครั้งต่อไปให้ต่อที่ใต้คราบน้ำที่ยังเปียกอยู่ ผลที่ได้คือสีจะใส เรียบสม่ำเสมอ ระวัง อย่านำพู่กันไปจุ่มน้ำ หรือเติมน้ำลงในสี ระหว่างทำงานเพราะจะทำให้สีที่ได้ไม่เรียบเกิดเป็นขั้นได้

3. การระบายแบบแห้งบนแห้ง (DRY ON DRY)
เป็นการระบายสีข้นๆบนกระดาษแห้งในลักษณะต่างๆเช่น แตะ แต้ม ขีด เขียน ลากเส้นอย่างรวดเร็ว ประกอบกับการใช้ส่วนต่างๆของพู่กันคือปลายบ้าง โคนบ้างเพื่อให้เกิดเป็นลักษณะต่างๆ เทคนิคนี้นำไปใช้เน้นเพื่อเพิ่มรายละเอียดของภาพ เช่น เมื่อเราทำภาพตัวบ้านเสร็จแล้วเราก็มาใส่ประตู หน้าต่าง ด้วยการใช้สีข้นๆ แตะ แต้ม ลงไปเราก็จะได้รายละเอียดของภาพแบบ DRY ON DRY

4.การระบายแบบแห้งบนเปียก(DRY ON WET)
เป็นการระบายสีข้นๆลงปนกระดาษที่เปียกชุ่มด้วยลักษณะต่างๆ เช่นการแตะ ปาด ขีดเขียนด้วยความเร็ว สีจะฟุ้งไปทั่วๆภาพแต่ไม่มากเท่าเปียกบนเปียก ความเข้มของสีจะมากกว่าเช่นกัน เหมาะกับการลงสีพื้นหลังที่เป็นวิวธรรมชาติ เช่น ภูเขา ต้นไม้

 

image002

Leave a comment